บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
International Logistics Management
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ เป็นสาขาวิชาที่เน้นถึงการนำเอาแนวคิดด้านการจัดการมาบูรณาการเข้ากับกระบวนดำเนินงานงานขององค์กรในระบบโซ่อุปทานโดยรวม โดยเริ่มตั้งแต่การจัดซื้อ การขนส่งและเก็บรักษาสินค้า รวมทั้งการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงองค์กรให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด เนื้อหาที่เรียนจะเน้นให้นิสิตมีองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ด้านการกระจายสินค้าในระบบโซ่อุปทาน โดยเน้นที่การจัดการขนส่งและเก็บรักษาสินค้าในกระบวนการกระจายสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งการจัดการความสัมพันธ์กับคู่ค้าในระบบโซ่อุปทาน เพื่อผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดการกระจายสินค้าในระบบโซ่อุปทานโลกได้อย่างเป็นระบบ
โลจิสติกส์ มีบทบาทและความสำคัญอย่างมากในระบบการค้า ทั้งการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพราะเป็นการจัดการการไหลของสินค้าและผลิตภัณฑ์ในระบบการกระจายสินค้าแบบบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจทั้งในด้านต้นทุน เวลา และคุณภาพ
องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ภาคการผลิตและภาคบริการ ล้วนต้องการการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน จึงส่งผลให้ตลาดแรงงานมีความต้องการบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถในการจัดการโลจิสติกส์เป็นอย่างมาก
- เจ้าของกิจการ: ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า (freight forwarder) ตัวแทนออกของ (Customs/shipping Broker) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ (3PL) ผู้จัดการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ (Multi-modal Transport Operator)
- งานที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้าและการส่งออก: ผู้จัดการในบริษัทสายการเดินเรือ บริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
- งานด้านการจัดซื้อจัดหา และการบริหารความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์: ผู้จัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Logistics/Supply Chain Manager) ผู้จัดการคลังสินค้า ผู้จัดการงานขนส่งและการกระจายสินค้า
- งานในหน่วยงานภาครัฐ เช่น การท่าเรือ การท่าอากาศยาน และการรถไฟ เป็นต้น
- งานที่ปรึกษาในการวางระบบโลจิสติกส์และโซ่อุทาน รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ในองค์กร
ตลาดแรงงานสำหรับผู้ที่จบในสาขานี้เปิดกว้างมาก ผู้เรียนสามารถที่จะเข้าทำงานในแทบทุกองค์กรไม่ว่าอยู่ในภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ ทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่กิจการขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ล้วนแต่ต้องมีการกระจายสินค้าหรือการจัดส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น